วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

มรดกดีเด่น

5. มรดกดีเด่น เนื้อหาจะกล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรม ของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่นและเป็นที่ รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงินและการทอผ้าไหม ศิลปการแสดงพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงเรือมต่างๆ การละเล่นเจรียงแบบต่างๆ รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกันตรึม และการเลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในส่วนการจัดแสดง จะใช้หุ่นจำลอง ภาพถ่าย และวีดีทัศน์ เป็นสื่อให้เห็นถึงการผลิตและใช้ประโยชน์จากงานหัตถกรรม หุ่นจำลองและวีดีทัศน์เรื่องการจัดแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉากจำลองบรรยากาศหมู่บ้านเลี้ยงช้าง และวีดีทัศน์ ให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึงมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์ ที่มีมาในอดีตและยังคง รับใช้ชุมชนอยู่ในปัจจุบัน โบราณวัตถุที่จัดแสดง จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชและสัตว์ เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประติมากรรมและชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมเขมร อาวุธโบราณ เครื่องประดับเงิน ผ้าไหม ฯลฯ

ผ้าไหมของสุรินทร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผ้าไหมสุรินทร์
(ตัวอย่างภาพมรดกดีเด่น ที่มา : http://nuaomfashionshop.blogspot.com  : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

ประคำ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
(ตัวอย่างภาพมรดกดีเด่น ที่มา : http://9mahawed.blogspot.com : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

เครื่องเป่าสะไน หรือ เสนงเกล

(ตัวอย่างภาพมรดกดีเด่น ที่มา :https://www.thetrippacker.com  : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

เครื่องจับช้าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องจับช่้างสุรินทร์
(ตัวอย่างภาพมรดกดีเด่น ที่มา :https://www.thetrippacker.com  : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

ข้าวหอมมะลิ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
(ตัวอย่างภาพมรดกดีเด่น ที่มา : http://e-shann.com : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

ชาติพันธุ์วิทย

4. ชาติพันธุ์วิทยา เนื้อหาจะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ ที่ประกอบด้วยชน 4 กลุ่มใหญ่ คือ ชาวกูย กลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง ชาวเขมร กลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์มานานแล้ว ชาวลาว กลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่หลังสุด และชาวไทยโคราช เป็นชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบจังหวัดนครราชสีมา ในการจัดแสดง จะจำลองให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน หุ่นจำลองการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยกูย ไทยเขมร ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับขนบประเพณี และสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยลาวและชาว ไทยโคราช ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touchscreen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด

ชาวกูย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิถีชีวิตชาวกูย
(ตัวอย่างภาพชาติพันธ์ุวิทยา ที่มา : http://www.workpointtv.com : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

ชาวลาว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิถีชีวิต ลาวในสุรินทร์
(ตัวอย่างภาพชาติพันธ์ุวิทยา ที่มา : http://surin108.com : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

ชาเขมร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
(ตัวอย่างภาพชาติพันธ์ุวิทยา ที่มา :http://www.isangate.com  : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

ชาวไทยโคราช

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแต่งกาย ไทยโคราช
(ตัวอย่างภาพชาติพันธ์ุวิทยา ที่มา : http://www.thaihealth.or.th : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

ประวัติศาสตร์เมือง

3. ประวัติศาสตร์เมือง เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากชาวกูยช่วยจับช้างเผือกที่หลุดมาจากกรุงศรีอยุธยา และได้รับความดีความชอบตั้งเป็นบ้านเมือง การปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตย ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา ในการจัดแสดง จะจำลองเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เช่น การจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรกๆ สภาพการศึกษาในอดีต โดยจำลองลงในตู้จัดแสดง ให้ผู้ชมสามารถซึมซับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของเมืองสุรินทร์ในอดีตมาจน เป็นจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบัน

เรื่องราวในประวติศาตร์ของสุรินทร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานช้าง
(ตัวอย่างภาพประวัติศาสตร์เมือง ที่มา : http://www.thaihealth.or.th  : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานช้าง
(ตัวอย่างภาพประวัติศาสตร์เมือง ที่มา :http://travel.trueid.net  : วันที่ 21 ม.ค. 2561)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานช้าง
(ตัวอย่างภาพประวัติศาสตร์เมือง ที่มา : http://www.sadoodta.com : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานช้าง
(ตัวอย่างภาพประวัติศาสตร์เมือง ที่มา : http://surin108.com : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
(ตัวอย่างภาพประวัติศาสตร์เมือง ที่มา : http://www.tnews.co.th : วันที่ 21 ม.ค. 2561)

วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2561

ประวัติศาสตร์โบราณคดี

2. ประวัติศาสตร์โบราณคดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้คน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบหลักฐานในจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่เมื่อ ประมาณ 2,000 - 1,500 ปีมาแล้ว สมัยวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 สมัยวัฒนธรรมขอมมีอายุประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 - 18 จนถึงสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง-อยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 24 ในการจัดแสดง จะจำลองสภาพชีวิตและพิธีกรรมการฝังศพ ครั้งที่สองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสมัยทวารวดี ขอม และอยุธยา-ล้านช้าง ที่พบในจังหวัดสุรินทร์ หุ่นจำลองโบราณสถานประกอบการฉายวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้ชมได้เกิดความเข้าใจ ในการศึกษาทางด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์ ศิลปะที่พบในจังหวัดสุรินทร์

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบราณคดีพิพิธภัณฑ์สุรินทร์
(ตัวอย่างภาพประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่มา : http://www.museumthailand.com/Surin_Museum : วันที่ 8 ม.ค. 2561 )

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบราณคดีพิพิธภัณฑ์สุรินทร์
(ตัวอย่างภาพโบราณคดี ที่มา : http://isan.tiewrussia.com : วันที่ 8 ม.ค. 2561)

ธรรมชาติวิทยา

1. ธรรมชาติวิทยา ในส่วนนี้จัดแสดงเรื่องกายภาพของจังหวัดสุรินทร์ เนื้อหาประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องข้าวและการทำนาด้วย เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดี แห่งหนึ่ง โดยใช้เทคนิคการจัดแสดงที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจเนื้อหา และเกิดความเพลิดเพลินในการเข้าชม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุทยานเขาสวาย 
(ตัวอย่างภาพธรรมชาติวิทยา ที่มา : https://puanboy1614gmailcom.wordpress.com : วันที่ 8 ม.ค. 2561)

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์จังหวัดสุรินทร์



พิพิธภัณฑ์สุรินทร์


  
               พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 จากความคิดริเริ่มของนายสุธี โอบอ้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ขณะนั้น โดยการชักชวนข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ให้นำศิลปวัตถุและโบราณวัตถุมาบริจาค ซึ่งได้จัดแสดงไว้ที่ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์
ต่อมาภายหลังจึงได้ย้ายไปเก็บรักษาและจัดแสดงชั่วคราว ณ อาคารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ เมื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ได้รับมอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากประชาชน และจากการดำเนินงานทางโบราณคดี ทำให้สถานที่จัดแสดงซึ่งอาศัยใช้พื้นที่ปีกด้านล่างของอาคารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์คับแคบ ไม่เหมาะสมต่อการให้บริการ ประกอบกับในปี พ.ศ.2535 กรมศิลปากรมีนโยบายที่จะปรับปรุงและจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองให้ครอบคลุมทั่วประเทศ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จึงเป็นพิพิธภัณฑสถานอันดับต้นๆ ที่ได้รับการพิจารณาจัดตั้งขึ้นภายใต้นโยบายดังกล่าว
กรมศิลปากรได้ดำเนินการขอใช้ที่ดินราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ บริเวณ กม.ที่ 4 ริมถนน สุรินทร์ – ช่องจอม เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ แห่งใหม่ และได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงสถานที่พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 เป็นต้นมา

มรดกดีเด่น

5. มรดกดีเด่น เนื้อหาจะกล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรม ของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่นและเป็นที่ รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทำเครื่อ...