4. ชาติพันธุ์วิทยา เนื้อหาจะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ ที่ประกอบด้วยชน 4 กลุ่มใหญ่ คือ ชาวกูย กลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง ชาวเขมร กลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์มานานแล้ว ชาวลาว กลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่หลังสุด และชาวไทยโคราช เป็นชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบจังหวัดนครราชสีมา ในการจัดแสดง จะจำลองให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน หุ่นจำลองการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยกูย ไทยเขมร ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับขนบประเพณี และสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยลาวและชาว ไทยโคราช ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touchscreen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด
ชาวกูย
(ตัวอย่างภาพชาติพันธ์ุวิทยา ที่มา : http://www.workpointtv.com : วันที่ 21 ม.ค. 2561)
ชาวลาว
(ตัวอย่างภาพชาติพันธ์ุวิทยา ที่มา : http://surin108.com : วันที่ 21 ม.ค. 2561)
ชาเขมร
(ตัวอย่างภาพชาติพันธ์ุวิทยา ที่มา :http://www.isangate.com : วันที่ 21 ม.ค. 2561)
ชาวไทยโคราช
(ตัวอย่างภาพชาติพันธ์ุวิทยา ที่มา : http://www.thaihealth.or.th : วันที่ 21 ม.ค. 2561)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น